แชร์

การจัดทำและยื่นงบการเงินนิติบุคคลอาคารชุดและหมู่บ้านจัดสรร

อัพเดทล่าสุด: 3 ธ.ค. 2024
6653 ผู้เข้าชม

ข้อควรรู้ทางด้านการเงินและบัญชีของ พรบ.อาคารชุดและพรบ.หมู่บ้านจัดสรร 

เรื่องทั่วไป

การเรียกผู้พักอาศัย

  • หมู่บ้าน จะใช้คำว่า สมาชิก
  • คอนโด จะใช้คำว่า เจ้าของร่วม

พื้นที่จัดเก็บค่าส่วนกลาง

  • หมู่บ้าน จะคิดตาม ตารางวา
  • คอนโด จะคิดตาม ตารางเมตร

การโอนกรรมสิทธิ

  • หมู่บ้าน การโอนบ้านหลังนั้นจะต้องไม่เคยโดนอายัด/ระงับสิทธิที่สำนักงานที่ดิน เนื่องจากค้างชำระค่าส่วนกลางเกินกว่า 6 เดือน
  • คอนโด การโอนจะต้องติดต่อสำนักงานนิติบุคคลอาคารชุดเพื่อขอใบปลอดหนี้ที่ลงนามโดยผู้จัดการนิติบุคคล

ข้อกำหนดอื่นๆ

  • เช่น อัตราส่วนคนต่างด้าว คอนโดจะห้ามเกินร้อยละ 49 ของอัตราส่วนกรรมสิทธิทั้งหมด ส่วนหมู่บ้านไม่ได้กำหนดแต่อย่างใด

การเงินและบัญชี

การจัดทำงบการเงิน

  • หมูบ้าน นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเป็นผู้จัดทำงบการเงิน ตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และเสนอต่อที่ประชุมใหญ่สามัญภายใน 90 วัน
  • คอนโด นิติบุคคลอาคารชุดเป็นผู้จัดทำงบการเงิน ตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และเสนอต่อที่ประชุมใหญ่สามัญภายใน 120 วัน

การนำส่งงบการเงิน

  • หมู่บ้าน นำส่งที่กรมที่ดินของแต่ละพื้นที่ ที่หมู่บ้านนั้นๆตั้งอยู่
  • คอนโด นำส่งที่สำนักงานส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

บทลงโทษผู้ไม่ชำระค่าส่วนกลาง

  • หมู่บ้าน อัตราค่าปรับผู้ค้างชำระค่าส่วนกลางไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนเงินที่ค้างชำระ (หากค้างชำระค่าส่วนกลางเกินกว่า 3 เดือนนิติบุคคลฯสามารถระงับการใช้พื้นที่ส่วนกลาง และหากค้างชำระค่าส่วนกลางเกินกว่า 6 เดือนนิติบุคคลฯสามารถระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมได้)
  • คอนโด อัตราค่าปรับผู้ค้างชำระค่าส่วนกลางไม่เกินร้อยละ 12 ของจำนวนเงินที่ค้างชำระและหากค้างเกินกว่า 6 เดือน จะเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ของจำนวนเงินที่ค้างชำระ (หากค้างชำระค่าส่วนกลางเกินกว่า 6 เดือนนิติบุคคลฯสามารถระงับการใช้พื้นที่ส่วนกลางและไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมใหญ่)


เรื่องสำคัญ

หมู่บ้าน กำหนดเรื่องสำคัญที่ต้องใช้คะแนนเสียงกึ่งหนึ่งของคะแนนเสียงสมาชิกทั้งหมด

  • การแก้ไขข้อบังคับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
  • การปรับขึ้นค่าส่วนกลาง

คอนโด กำหนดเรื่องสำคัญที่ต้องใช้คะแนนเสียงกึ่งหนึ่งของคะแนนเสียงเจ้าของร่วมทั้งหมด หากคะแนนเสียงครั้งแรกไม่ถึงกึ่งหนึ่งกำหนดให้ประชุมครั้งที่ 2 ต้องใช้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของคะแนนเสียงเจ้าของร่วมทั้งหมด

  • การซื้ออสังหาริมทรัพย์หรือรับการให้อสังหาริมทรัพย์ที่มีค่าภาระติดพันเป็นทรัพย์ส่วนกลาง
  • การจําหน่ายทรัพย์ส่วนกลางที่เป็นอสังหาริมทรัพย์
  • การอนุญาตให้เจ้าของร่วมทําการก่อสร้าง ตกแต่ง ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหรือต่อเติมห้องชุดของตนเองที่มีผลกระทบต่อทรัพย์ส่วนกลางหรือลักษณะภายนอกของอาคารชุดโดยค่าใช้จ่ายของผู้นั้นเอง
  • การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้หรือการจัดการทรัพย์ส่วนกลาง
  • การแก้ไขเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนค่าใช้จ่ายร่วมกันในข้อบังคับ
  • การก่อสร้างอันเป็นการเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม หรือปรับปรุงทรัพย์ส่วนกลาง
  • การจัดหาผลประโยชน์ในทรัพย์ส่วนกลาง

บทความที่เกี่ยวข้อง
การยื่นงบการเงินบริษัทจำกัดประจำปี 2568
การยื่นงบการเงินบริษัทจำกัด ที่มีรอบปีบัญชี 31 ธันวาคม 2567 1. การจัดประชุมผู้ถือหุ้น 2. การยื่นรายชื่อผู้ถือหุ้น (บ.อ.จ.5) 3. ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) 4. ยื่นงบการเงิน
15 ม.ค. 2025
กระบวนการจัดทำบัญชี
กระบวนการจัดทำบัญชี
14 มิ.ย. 2024
ความแตกต่างระหว่างการบัญชีและการสอบบัญชี
ความแตกต่างระหว่างการบัญชีและการสอบบัญชี
13 มิ.ย. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy